Log in to access resources reserved for MDRT members.

  • Learn (Personalized)
  • >
  • Q&A: Tony Zhou เชื่อมโยงช่องว่างความรู้เกี่ยวกับประกันตามหลักชะรีอะฮ์
Q&A: Tony Zhou เชื่อมโยงช่องว่างความรู้เกี่ยวกับประกันตามหลักชะรีอะฮ์
Q&A: Tony Zhou เชื่อมโยงช่องว่างความรู้เกี่ยวกับประกันตามหลักชะรีอะฮ์

มี.ค. 01 2567 / Round the Table Magazine

Q&A: Tony Zhou เชื่อมโยงช่องว่างความรู้เกี่ยวกับประกันตามหลักชะรีอะฮ์

ที่ปรึกษาปฏิบัติภารกิจในการให้ความรู้แก่ผู้มุ่งหวังและลูกค้าที่ไม่คุ้นเคยกับประกันตามหลักชะรีอะฮ์

หัวข้อที่ครอบคลุม

Tony Zhou กำลังปฏิบัติภารกิจในการให้ความรู้แก่ผู้มุ่งหวังและลูกค้าที่ไม่คุ้นเคยกับประกันตามหลักชะรีอะฮ์ แม้ในประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก

ความแตกต่างระหว่างประกันตามหลักชะรีอะฮ์ (Sharia) กับประกันทั่วไปคืออะไร

ประกันทั่วไปใช้แนวคิดในการถ่ายโอนความเสี่ยงจากผู้มีประกันไปที่บริษัทประกัน ประกันตามหลักชะรีอะฮ์ปฏิบัติตามกฎหมายศาสนาอิสลาม และใช้แนวคิดเกี่ยวกับความช่วยเหลือกันและกัน และความร่วมมือกันระหว่างผู้เข้าร่วมผ่านเงินทุนที่ได้จากหลักการช่วยเหลือหรือตะบัรรุอ (Tabarru) ตะบัรรุอมาจากคำนามภาษาอารบิกที่แปลว่าการบริจาค ของขวัญ การให้เงินช่วยเหลือ ผู้คนให้ตะบัรรุอในรูปแบบสินทรัพย์ เงิน หรือประโยชน์แก่บุคคลอื่นที่กำลังทำสิ่งเดียวกัน โดยไม่คาดหวังสิ่งใด หรือการได้รับการตอบแทนในตอนนี้หรือในวันข้างหน้า และด้วยเจตนาในการทำความดีอย่างแท้จริง ผู้เข้าร่วมที่บริจาคตะบัรรุอให้กับการประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลาม หรือตะกาฟุล (Takaful) หรือประกันตามหลักชะรีอะฮ์ ซึ่งเป็นการรวมเงินที่ไม่ใช่เพื่อสร้างกำไร แต่เพื่อช่วยผู้เข้าร่วมอื่นในเวลาที่ประสบโชคร้าย เช่น ความเจ็บป่วย ความพิการ อุบัติเหตุและการเสียชีวิต ตะกาฟุลคือทางเลือกที่สอดคล้องกับหลักชะรีอะฮ์ สำหรับการประกันแบบดั้งเดิม เนื่องจากถูกจัดโครงสร้างให้กับเป็นไปตามหลักการของอิสลามในเรื่องความบริสุทธิ์ ความแน่นอน และความสามัคคี

คุณใช้กลยุทธ์และเทคนิคอะไรในการสื่อสารเมื่อเสนอผลิตภัณฑ์ประกันตามหลักชะรีอะฮ์

ผมบอกลูกค้าว่าด้วยประกันตามหลักชะรีอะฮ์ นอกจากการได้รับความคุ้มครอง พวกเขายังจะให้กับการกุศล พวกเขากำลังทำสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่น แนวคิดของการช่วยเหลือผู้อื่นไปตามค่านิยมและวัฒนธรรมของคนอินโดนีเซีย ทำให้เป็นการง่ายสำหรับพวกเขาในการยอมรับและเข้าใจประกันตามหลักชะรีอะฮ์ คำถามข้อหนึ่งที่ผมถามคือก่อนที่จะช่วยใครเราดูชาติพันธุ์ ศาสนา และเชื้อชาติก่อนตัดสินใจที่จะช่วยผู้อื่นหรือไม่ แน่นอนว่าไม่ ประกันตามหลักชะรีอะฮ์คือส่วนต่อยอดของแนวคิดทั่วไปของการช่วยเหลือกันและกัน ประกันตามหลักชะรีอะฮ์เป็นประกันสำหรับทุกคน เป็นดูแลผู้อื่นทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ หรือศาสนา เราสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นด้วยประกันตามหลักชะรีอะฮ์

มีคำแนะนำอื่นหรือไม่สำหรับที่ปรึกษาที่ต้องการเสนอประกันตามหลักชะรีอะฮ์แก่ผู้มุ่งหวัง

แม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ยังมีผู้คนมากมายที่ไม่มีประกันตามหลักชะรีอะฮ์ ทำให้โอกาสทางธุรกิจยังกว้างอยู่มาก คำแนะนำของผมคือโฟกัสมากขึ้นเกี่ยวกับความคุ้มครองของประกัน ไม่จำเป็นต้องพูดเกี่ยวกับอัลกุรอานมากนักเพราะประกันตามหลักชะรีอะฮ์ในอินโดนีเซียได้รับการควบคุมโดย OJK, Indonesian Financial Services Authority, และ Sharia Supervisory Board ซึ่งนำคำแนะนำจากนักวิชาการอิสลามใน Indonesian Ulema Council มาปฏิบัติ

Tony Zhou เป็นสมาชิก MDRT 7 ปี จากจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ติดต่อเขาได้ที่ tonyzhouprudential@gmail.com